การใช้เครื่องมือช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร

ถาม :  “มีวิธีทำอย่างไรให้คนในองค์กร มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยไม่ต้องบังคับบ้างมั๊ย?

ตอบ :  “ก็แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องที่คนสนใจสิ ! ” 

            จากบทสนทนาสั้นๆข้างต้น  ทั้งคำถามและคำตอบ อาจจะดูว่าเป็นอะไรที่พื้นๆไม่ได้ซับซ้อนและยุ่งยากอะไร แต่เชื่อหรือไม่ว่าเป็นคำถามง่ายๆที่ตอบยากมาก และแม้คำตอบในบทสนทนานี้ จะเป็นสิ่งที่จริงแท้แน่นอน แต่รู้หรือไม่ว่าตอนนำไปทำจริงๆนั้นยากยิ่งนัก

           แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องที่คนสนใจสิ ! ….ทำอย่างไรดีล่ะ???  เรียนมาตั้งมากมายแล้วว่าองค์ประกอบในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้คือ คน (People)  สถานที่และบรรยากาศ (Place) และสิ่งอำนวยความสะดวก (Infrastructure)….เรื่องสถานที่และบรรยากาศและสิ่งอำนวยความสะดวก นี่พอจัดการได้ไม่ยาก แต่เรื่องคนนี่สิจะทำอย่างไรดี ให้สมัครใจมา และมาแล้วก็อยากจะ Share ความรู้และประสบการณ์ต่างๆด้วย ไม่ใช่มาแต่ตัวแต่ใจไม่เอากับเราด้วย เป็นเสมือนหุ่นยนต์ที่ถูกบังคับมา

          ถึงแม้จะยากเย็นแค่ไหน ถ้าเราตั้งใจทำซะอย่าง ก็สำเร็จลงได้แม้จะเหนื่อยหน่อยก็ตาม  ลองประยุกต์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครื่องมือการปรับปรุงหรือระบบต่างๆที่องค์กรทำอยู่ก็น่าจะได้ผลดีนะคะ ในเมื่อให้ทำแบบสมัครใจไม่ work ก็น่าจะลองใช้ตัวช่วยอื่นๆ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย แบบ Win-Win ทั้งคนและองค์กร

ตัวอย่าง-การประยุกต์ใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับระบบ QCC (Quality Control Circle) ขององค์กร

 

           ระบบ QCC จะมีกิจกรรมหนึ่งที่ให้นำเสนอผลงานการปรับปรุง ซึ่งเป็นเวทีอย่างดีที่ทำให้คนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยสถานการณ์พาไป  คนจะไม่รู้สึกถูกบังคับเพราะเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมนี้อยู่แล้ว  องค์กรก็ได้ประโยชน์ที่สามารถ Capture ความรู้จากคน  และคนก็รู้สึกสนุกเพราะนอกจากได้รับความรู้ใหม่ๆจากเพื่อนๆแล้ว ตัวเองก็ได้ Show ความสามารถของตัวเองให้คนอื่นรับรู้ได้ด้วย

          นี่เป็นเพียงตัวอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าหลายๆองค์กรที่มีการใช้เครื่องมือการปรับปรุงหรือระบบต่างๆเพื่อพัฒนายกระดับศักยภาพองค์กรสามารถนำตัวช่วยเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร ด้วยการบูรณาการ (Integration) ให้เสริมซึ่งกันและกัน  เชื่อแน่ว่าหลายองค์กรในเมืองไทยคงมีระบบบริหารธุรกิจที่ยอดเยี่ยมไม่แพ้ชาติไหนแน่นอน 🙂

One thought on “การใช้เครื่องมือช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร

  1. อีกหนึ่งประสบการณ์ของการ Integration KM กับ Productivity Tools and Techniques ที่ใช้ได้ผลมาแล้ว 🙂

Leave a comment